ไทย
เพลง
อยากให้ได้รู้ว่าใจของฉันมันจะขาด
จากการกระทำที่ตอกย้ำว่าฉันด้อยกว่า
ตีราคากันต่ำเกิน
เมื่อมันไม่รู้สมองมันก็คิดไปร้อยแปด
จากเคยรักแท้ ก็กลายเป็นชอกช้ำซ้ำซ้ำแสบ
เจ็บก็เพราะรัก ไม่คิดว่าเธอจะทำฉันได้ลง
คิดแล้วปลง ทรงกับทรุด
แต่ใจมันรักเธอ ก็เลยไม่ยอมตัดใจ
ไม่ปล่อยให้ไป ยังยื้อเธอไว้อย่างนั้น
เมื่อเธอไม่รักกัน ก็เลยต้องการจะไป
ทิ้งให้ใครต้องนอนปวดใจให้ตายทั้งเป็น
เมื่อมันไม่รู้สมองมันก็คิดไปร้อยแปด
จากเคยรักแท้ ก็กลายเป็นชอกช้ำซ้ำซ้ำแสบ
เจ็บก็เพราะรัก ไม่คิดว่าเธอจะทำฉันได้ลง
คิดแล้วปลง ทรงกับทรุด
แต่ใจมันรักเธอ ก็เลยไม่ยอมตัดใจ
ไม่ปล่อยให้ไป ยังยื้อเธอไว้อย่างนั้น
เมื่อเธอไม่รักกัน ก็เลยต้องการจะไป
ทิ้งให้ใครต้องนอนปวดใจให้ตายทั้งเป็น
ไม่โทษฟ้าที่ทำให้เธอเป็นอื่น
ต้องทนฝืนแม้คนเขาจะดูถูก
แม้ว่ารักไม่ทำให้ใจเป็นสุข
จะโง่ก็ยอม โง่ก็ยอม
แต่ใจมันรักเธอ ก็เลยไม่ยอมตัดใจ
ไม่ปล่อยให้ไป ยังยื้อเธอไว้อย่างนั้น
เมื่อเธอไม่รักกัน ก็เลยต้องการจะไป
ทิ้งให้ใครต้องนอนปวดใจให้ตายทั้งเป็นคำประสม คำประสม เกิดจากการเอาคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาประสมกันเรียกว่า คำประสม เกิดเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่ขึ้น เช่น พัดลม เตารีด ไฟฟ้า ตู้เย็น ลูกคิด ตากล้อง ผู้แทน เรือบิน รถราง น้ำอัดลม ฯลฯคำประสมที่เกิดความหมายใหม่ขึ้นจะมีความสัมพันธ์กับความหมายเดิมในลักษณะ ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ๑) ความหมายของคำประสมมีเค้าความหมายเดิมของคำมูลมารวมกันโดยตรง เช่น รองเท้า ไม้แขวนเสื้อ ไม้กวาด ๒) ความหมายของคำประสมในทำนองเปรียบเทียบ เช่น หางเสือ ลูกเสือ หัวแข็ง ปากแข็ง ปากกา และบางคำเป็นสำนวน เช่น ยกเมฆ ชักดาบ โคมลอย น้ำพักน้ำแรง ล่มหัวจมท้าย ฯลฯ ๓) คำประสมที่เกิดจากนำคำมูลที่มีความหมายใกล้เคียงกัน หรือความหมายคล้ายกันมาซ้อนกันเป็นคำขึ้นเช่น ว่องไว ว่ากล่าว เหลียวแล ช้านาน ถ้อยคำ วิ่งเต้น รูปภาพ เรือนหอ ฯลฯ ๔) นำคำมูลที่มีความหมายกว้าง ๆ มาประสมกับคำมูลคำอื่น ๆ ทำให้เกิดความหมายเฉพาะขึ้น เช่น ชาว (ย่อมาจากผู้ที่อยู่) เช่น ชาวบ้าน ชาวเขา ชาวเกาะ นัก (ย่อมาจากผู้ที่กระทำ) เช่น นักเรียน นักร้อง นักดนตรี เครื่อง (ย่อมาจากสิ่งที่ประกอบกันหรือของที่เข้าสำรับกัน) เช่น เครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกีฬา เครื่องเขียน ช่าง (ย่อมาจากผู้ที่ชำนาญ) เช่น ช่างกล ช่างยนต์ ช่างเครื่อง ที่ (ย่อมาจากตำแหน่งหรือถิ่น) เช่น ที่นอน ที่อยู่ ผู้ เช่น ผู้หญิง ผู้ใหญ่ ผู้น้อย ข้อสังเกตคำประสม ๑) คำประสมจะเป็นวิทยาการสมัยใหม่ เช่น เตารีด หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ พัดลม ตู้เย็น เครื่องอบผ้า เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น ฯลฯ ๒) คำประสมเป็นคำเดียวกันจะแยกออกจากกันไม่ได้ ความหายจะไม่เหมือนเดิม เช่น นางแบบ รับรอง มนุษย์กบ คำประสมจะเป็นคำใหม่เกิดขึ้น ๓) วิธีสังเกตค่ำประสมนักจะมีลักษณะนามให้เห็นอย่างเด่นชัด เช่น ใบนี้ คนนี้ ชุดนี้ ฯลฯ เช่น วันนี้ไม่มีคนใช้คนนี้เลย (คำประสม) ๔) คำประสมที่ขึ้นตนด้วยคำว่า “ลูก แม่” ต้องหมายถึงคนจึงจะเป็นคำประสม เช่น ลูกเสือ (คน) แม่มด (คน) ถ้าเป็นลูกของเสือ แม่ของมด จะเป็นคำเรียงกันธรรมดา ยกเว้น ลูกน้ำเป็นคำประสม เพราะวามหมายเปลี่ยนไป ไม่ใช่ลูกของน้ำ แต่เป็นลูกของยุง เป็นต้น คำซ้อน คำซ้อน เป็นการสร้างคำโดยนำคำมูลที่มีความหมายเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน หรือตรงข้ามกัน มาวางซ้อนกัน เกิดคำใหม่ มีความหมายใหม่ โดยความหมายใหม่อาจกว้างขึ้นหนักแน่นขึ้น หรือเบาลงก็ได้ ชนิดของคำซ้อน ๑) คำซ้อนเพื่อความหมาย คือ คำซ้อนที่เกิดจากคำมูลที่มีความหมายเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน หรือตรงกันข้ามกันมาวางชิดกัน เช่น (๑) ความหมายเหมือนกัน เช่น เสื่อสาด เหาะเหิน พูดจา ฯลฯ (๒) ความหมายใกล้เคียงกัน เช่น คัดเลือก แนะนำ เกรงกลัว ฯลฯ (๓) ความหมายตรงกันข้ามกัน เช่น ผิดชอบ ชั่วดี ได้เสีย ฯลฯ ๒) คำซ้อนเพื่อเสียง คือ คำซ้อนที่เกิดจากการนำคำที่มีเสียงคล้องจอง และมีความหมายสัมพันธ์กันมาซ้อนกัน เพื่อให้ออกเสียงได้ง่าย และไพเราะ มีลักษณะดังนี้ (๑) ซ้อนเสียงพยัญชนะต้น เช่น เร่อร่า ท้อแท้ จริงจัง ตูมตาม ซุบซิบ ฯลฯ (๒) ซ้อนเสียงสระ เช่น ราบคาบ จิ้มลิ้ม แร้นแค้น เบ้อเร่อ อ้างว้าง ฯลฯ (๓) ซ้อนเสียงพยัญชนะต้นและสระ เช่น ออดอ้อน อัดอั้น รวบรวม ฯลฯ (๔) ซ้อนด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมาย แต่มีเสียงสัมพันธ์กับคำที่มีความหมาย เช่น พยายงพยายาม กระดูกกระเดี้ยว ฯลฯ (๕) ซ้อนด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงแล้วเพิ่มพยางค์ให้เสียงสมดุลกัน เช่น สะกิดสะเกา ขโมยขโจร ฯลฯ (๖) คำซ้อน ๔ - ๖ พยางค์จะมีเสียงสัมผัสภายในคำ เช่น ข้าเก่าเต่าเลี้ยง ถ้วยโถโอชาม ประเจิดประเจ้อ ทรัพย์ในดินสินในน้ำ ฯลฯ บทความนี้เกี่ยวกับวันแม่ในความหมายโดยรวม สำหรับวันแม่ในประเทศไทย ดูที่ วันแม่แห่งชาติ (ประเทศไทย)
วันแม่ เป็นวันที่สำคัญในหลายประเทศทั่วโลกจัดขึ้นเพื่อให้เกียรติแม่และความเป็นแม่ ในประเทศไทยวันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ในประเทศอื่นทั่วโลกวันแม่จะอยู่ในช่วง เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ส่วนในอังกฤษและไอร์แลนด์วันแม่ถูกจัดขึ้นต่อจากวันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์
วันสำคัญที่ให้ระลึกถึงความเป็นพ่อถูกเรียกว่าวันพ่อ
วันแม่
วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถคือ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย
แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ
ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า "ดอกมะลิ" สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา
ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า "ดอกมะลิ" สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
- ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
- จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
- จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
- นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่
วันแม่ในประเทศต่าง ๆ
- อาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ นอร์เวย์
- 8 มีนาคม บัลแกเรีย, แอลเบเนีย
- อาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์ (มาเทอริง ซันเ ดย์) สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์
- 21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ) จอร์แดน, ซีเรีย, เลบานอน, อียิปต์
- อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม โปรตุเกส, ลิทัวเนีย, สเปน, แอฟริกาใต้, ฮังการี
- 8 พฤษภาคม เกาหลีใต้ (วันผู้ปกครอง)
- 10 พฤษภาคม กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้, บาห์เรน, ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน
- อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง
- 26 พฤษภาคม โปแลนด์
- 27 พฤษภาคม โบลิเวีย
อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม สาธารณรัฐโดมินิกัน, สวีเดน
อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ฝรั่งเศส - 12 สิงหาคม ไทย (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
- 15 สิงหาคม (วันอัสสัมชัญ) คอสตาริกา, แอนท์เวิร์ป (เบลเยียม)
อาทิตย์ที่สองหรือสามของเดือนตุลาคม อาร์เจนตินา (Día de la Madre) - 28 พฤศจิกายน รัสเซีย
- 8 ธันวาคม ปานามา
- 22 ธันวาคม อินโดนีเซีย หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สมเจตน์ มุทิตากุล
หนังสือ ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก โดย วรนุช อุษณกร
หนังสือ วันสำคัญของไทย โดยธนากิต
หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สุชิราภรณ์ บริสุทธิ์